วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555



ยาเสพติด




ประวัติของยาเสพติด


 ในประเทศไทย
          ยาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาของชาติอยู่ในขณะนี้   มีประวัติความเป็นมาอย่างไรเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะมนุษย์ได้เกี่ยวข้องกับ
ยาเสพติดมาเป็นเวลาช้านาน  บางชนิดก็ให้ทั้งคุณประโยชน์และโทษ  บางชนิดก็มีแต่โทษภัยเท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันมียาเสพติดชนิด
ต่าง ๆ ในท้องตลาดมากกว่า 120 ชนิด อย่างไรก็ตามยาเสพติดชนิดแรกที่คนไทยรู้จักก็คือ
          ฝิ่น
          ฝิ่นเข้ามาในประเทศไทยในสมัยใดนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด  เท่าที่มีหลักฐานครั้งแรก  เป็นประกาศใช้กฎหมายลักษณะโจร
ในสมัยรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)  ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา  เมื่อ พ.ศ. 1903 หรือ ประมาณ 600 ปี
ล่วงมาแล้ว ตามกฎหมายฉบับนี้   ได้บัญญัติการห้ามซื้อ  ขาย  เสพฝิ่นไว้ว่า  "ผู้สูบฝิ่น กินฝิ่น ขายฝิ่นนั้น  ให้ลงพระราชอาญาจง
หนักหนา ริบราชบาทว์ให้สิ้นเชิง  ทเวนบกสามวัน  ทเวนเรือสามวัน  ให้จำใส่คุกไว้จนกว่าจะอดได้ ถ้าอดได้แล้วเรียกเอาทานบน
แก่มันญาติพี่น้องไว้แล้ว  จึงให้ปล่อยผู้สูบ  ขาย  กินฝิ่น  ออกจากโทษ"   แม้ว่าบทลงโทษจะสูง  แต่การลักลอกซื้อขายและเสพฝิ่น
ก็ยังมีต่อมาโดยตลอด   กฎหมายคงใช้ได้แต่ในกรุงศรีอยุธยาเท่านั้น   ส่วนหัวเมือง และ เมืองขึ้นที่ห่างพระเนตรพระกรรณ ไม่มี
การเข้มงวดกวดขัน   ซึ่งปรากฎว่า ผู้ครองเมืองบางแห่งก็ติดฝิ่น  และ  ผูกขาดการจำหน่ายฝิ่นเสียเองด้วย   เมื่อเป็นเช่นนี้ปัญหา
การขายฝิ่น เสพฝิ่น จึงเลิกไม่ได้ตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยา
         ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงแจกกฎหมายป่าวร้องห้ามปรามผู้ขาย  ผู้สูบฝิ่น
แต่ก็ยังไม่มีผล   ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย   จึงได้ทรงตราพระราชกำหนดโทษให้สูงขึ้นไปอีก   โดย 
        
"ห้ามอย่าให้ผู้ใดสูบฝิ่น   กินฝิ่น   ซื้อฝิ่นขายฝิ่น  และ เป็นผู้สมซื้อสมขายเป็นอันขาดทีเดียวถ้ามิฟังจับได้ และมีผู้ร้องฟ้อง
พิจารณาเป็น สัจจะให้ลงพระอาญา  เฆี่ยน 3 ยก  ทเวนบก 3 วัน  ทเวนเรือ 3 วัน  ริบราชบาทว์ บุตรภรรยา  และ ทรัพย์สิ่งของ
ให้สิ้นเชิง ให้ส่งตัว ไปตะพุ่นหญ้าช้าง ผู้รู้เห็นเป็นใจมิได้เอาความมาว่ากล่าว จะให้ลง พระอาญาเฆี่ยน 60 ที"
         ในรัชกาลที่ 3 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นระยะที่ตรงกับสมัยที่อังกฤษนำฝิ่นจากอินเดีย ไปบังคับขาย
ให้จีนทำให้มีคนจีนติดฝิ่นเพิ่มขึ้น  และ ในช่วงเวลานั้น   ตรงกับระยะที่คนจีนเข้ามาค้าขายในเมืองไทยมากขึ้น   จึงเป็นการนำ
การใช้ฝิ่นและผู้ติดฝิ่นเข้ามาในเมืองไทย  ตลอดจนมีการลักลอบนำฝิ่นเข้ามาในเมืองไทยด้วยเรือสินค้าต่าง ๆ  มาก จึงเป็นเหตุให้
การเสพฝิ่นระบาดยิ่งขึ้น พระองค์จึงได้ทรงมีบัญชาให้มีการปราบปรามอย่างเข้มงวดกวดขันในปี พ.ศ. 2382  ทำให้การค้าฝิ่น
และสิ่งอื่น ๆ ที่ผิดกฎหมายเข้าไปอยู่ในมือของกลุ่มอั้งยี่ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ  และหัวเมืองชายทะเล  สร้างความวุ่นวายจากการ
ทะเลาะวิวาทระหว่างกลุ่มอั้งยี่ต่าง ๆ จนต้องทำให้ทหารปราบปราม

          
ในสมัยรัชกาลที่ 4  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงเห็นว่าการปราบปรามไม่สามารถขจัดปัญหาการสูบ และ
ขายฝิ่นได้ และก่อให้เกิดความยุ่งยากวุ่นวายขึ้น  จึงทรงเปลี่ยนนโยบายใหม่ ยอมให้คนจีนเสพและขายฝิ่นได้ตามกฎหมาย แต่ต้อง
เสียภาษีผูกขาดมีนายภาษีเป็นผู้ดำเนินการ ปรากฏว่าภาษีฝิ่นทำรายได้ให้แก่ประเทศไทยมาก ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ได้ทรงรวบรวมไว้ในหนังสือลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ใน "ตำนานภาษีฝิ่น"  ว่าภาษีที่ได้นั้นประมาณว่าถึงปีละ 4 แสนบาท  สูงเป็น
อันดับที่ 5 ของรายได้ประเภทต่าง ๆ และได้มีความพยายามห้ามคนไทยไม่ให้เสพฝิ่น แต่ก็ไม่ได้ผลเต็มที่
          ใน พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติซึ่งปกครองประเทศไทยอยู่ในขณะนั้นได้พิจารณาเห็นว่า การเสพฝิ่นเป็นที่รังเกียจใน วงการ
สังคม และเป็นอันตรายแก่สุขภาพและอนามัยอย่างร้ายแรง ประเทศต่าง ๆ ได้พยายามเลิกการเสพฝิ่นโดยเด็ดขาดแล้ว จึงเห็นเป็น
การสมควรให้เลิกการเสพฝิ่น  และ  จำหน่ายฝิ่นในประเทศไทย  จึงมีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 37  ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501
ให้เลิกการเสพฝิ่น  และ  จำหน่ายทั่วราชอาณาจักร  และ กำหนดดำเนินการให้เสร็จสิ้นเด็ดขาดภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2502
โดยกำหนดการตามลำดับดังนี้
          1. ประกาศให้ผู้เสพฝิ่นขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เสพฝิ่นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2501
          2. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2502 ห้ามมิให้ร้านฝิ่นจำหน่ายฝิ่นแก่ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตให้สูบฝิ่น
          3. ยุบเลิกร้านจำหน่ายฝิ่นภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2502
          4. ให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทย ร่วมกันจัดตั้งสถานพยาบาล และพักฟื้นผู้อดฝิ่น
          5. ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2502 ผู้กระทำผิดฐานเสพฝิ่นหรือมูลฝิ่น  






ความหมายของยาเสพติด

ความหมายของยาเสพติด
          ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมี่อนำเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธี
รับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจนอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง
          ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้
          ๑. เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
          ๒. เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
          ๓. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
          ๔. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ
ความหมายโดยทั่วไป
          ยาเสพติด หมายถึง สารหรือยาที่อาจเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ ซึ่งเมื่อบุคคลใดเสพหรือได้รับเข้าไปในร่างกายซ้ำๆ กันแล้วไม่ว่า ด้วยวิธีใดๆ เป็นช่วงระยะๆ หรือนานติดต่อกันก็ตาม จะทำให้
          1. บุคคลนั้นต้องตกอยู่ใต้อำนาจหรือเป็นทาสของสิ่งนั้นทางด้านร่างกายและ จิตใจ หรือจิตใจเพียงอย่างเดียว
          2. ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ หรือทำ ให้สุขภาพของผู้เสพติดเสื่อมโทรมลง
          3. เมื่อถึงเวลาอยากเสพแล้วไม่ได้เสพจะมีอาการผิดปกติทางด้านร่างกายและ จิตใจ หรือเฉพาะทางด้านจิตใจเกิดขึ้นในผู้เสพ
ความหมายตามกฎหมาย
          ยาเสพติดให้โทษ หมายความว่า สารเคมี หรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ
ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญเช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพเรื่อยๆ มีอาการถอนยา
เมื่อขาดยามีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลาและสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กลับให้รวม
ถึงพืช หรือ ส่วนของพืชที่เป็น หรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมี ที่ใช้ใน
การผลิตยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความ







ประเภทของยาเสพติด


๑. ประเภทของยาเสพติด
          จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น ๔ ประเภท
          ๑. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น  มอร์ฟีน  เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาทเครื่องดื่มมึนเมา
ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาว เป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง
อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย
          ๒. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ ยาบ้า  ยาอี กระท่อม  โคเคน มักพบว่าผู้เสพติดจะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสนหวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น
          ๓. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี และ เห็ดขี้ควาย เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่องเห็นแสงสีวิจิตรพิสดาร หูแว่ว ได้ยินเสียง ประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็น
โรคจิต
          ๔. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกันได้แก่ ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสนเห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้
๒. แบ่งตามแหล่งที่มา
          แบ่งตามแหล่งที่เกิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
          ๑. ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น  มอร์ฟีน  กระท่อม  กัญชาเป็นต้น
          ๒. ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน  ยาอี  เอ็คตาซี เป็นต้น
๓. แบ่งตามกฎหมาย
          แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ
          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑  ได้แก่ เฮโรอีน  แอลเอสดี  แอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า  ยาอี หรือ ยาเลิฟ
          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้
การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือ โคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน
          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๓  ยาเสพติดประเภทนี้  เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ ๒ ผสมอยู่ด้วย
มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่
ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น
          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๔ คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ หรือประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยน มอร์ฟีน เป็น เฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิตยาบ้า ได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก ๑๒ ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้
          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๕ เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ ๑ ถึง ๔ ได้แก่ ทุกส่วนของพืช กัญชา ทุกส่วนของพืช กระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น



สาเหตุการติดยาเสพติด


. สาเหตุที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
          จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น ๔ ประเภท
          ๑. อยากทดลอง เกิดจากความอยากรู้อยากเห็นซึ่งเป็นนิสัยของคนโดยทั่วไป และโดยที่ไม่คิดว่าตนจะติดสิ่งเสพย์ติดนี้ได้
จึงไปทำการทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น ในการทดลองใช้ครั้งแรกๆ อาจมีความรู้สึกดีหรือไม่ดีก็ตาม ถ้ายังไม่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น ก็อาจ
ประมาท  ไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นอีก  จนใจที่สุดก็ติดสิ่งเสพย์ติดนั้น  หรือ  ถ้าไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดบางชนิด  เช่น เฮโรอีน
แม้จะเสพเพียงครั้งเดียว ก็อาจทำให้ติดได้
          ๒. ความคึกคะนอง คนบางคนมีความคึกคะนอง ชอบพูดอวดเก่งเป็นนิสัย โดยเฉพาะวัยรุ่นมักจะมีนิสัยดังกล่าว คนพวกนี้อาจแสดงความเก่งกล้าของตน  ในกลุ่มเพื่อนโดยการแสดงการใช้สิ่งเสพย์ติดชนิดต่าง ๆ  เพราะเห็นแก่ความสนุกสนาน ตื่นเต้น และ
ให้เพื่อนฝูงยอมรับว่าตนเก่ง โดยมิได้คำนึง ถึงผลเสียหาย หรือ อันตรายที่จะเกิดขึ้นในภายหลังแต่อย่างไร ในที่สุดจนเองก็กลายเป็นคนติดสิ่งเสพย์ติดนั้น
          ๓. การชักชวนของคนอื่น  อาจเกิดจากการเชื่อตามคำชักชวนโฆษณา  ของผู้ขายสินค้าที่ เป็นสิ่งเสพย์ติดบางชนิด  เช่น
ยากระตุ้นประสาทต่างๆ ยาขยัน ยาม้า ยาบ้า เป็นต้น โดยผู้ขายโฆษณาสรรพคุณของสิ่งเสพย์ติดนั้นว่ามีคุณภาพดีสารพัดอย่างเช่น ทำให้มีกำลังวังชา  ทำให้มีจิตใจแจ่มใส  ทำให้มีสุขภาพดี  ทำให้มีสติปัญญาดี  สามารถรักษาโรคได้บางชนิด เป็นต้น  ผู้ที่เชื่อคำ
ชักชวนโฆษณาดังกล่าวจึงไปซื้อตามคำชักชวนของเพื่อนฝูง ซึ่งโดยมากเป็นพวกที่ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นอยู่แล้ว ด้วยความเกรงใจเพื่อน
หรือ เชื่อเพื่อน หรือต้องการแสดงว่าตัวเป็นพวกเดียวกับเพื่อน จึงใช้สิ่งเสพย์ติดนั้น
๒. สาเหตุที่เกิดจากการถูกหลอกลวง
          ปัจจุบันนี้มีผู้ขายสินค้าประเภทอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มบางรายใช้สิ่งเสพย์ติดผสมลงในสินค้าที่ขาย เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้านั้นไปรับประทานเกิดการติด อยากมาซื้อไปรับประทานอีก ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ซื้ออาหารนั้นมารับประทาน จะไม่รู้สึกว่าตนเองเกิดการติดสิ่งเสพย์ติดขึ้นแล้ว  รู้แต่เพียงว่าอยากรับประทานอาหาร  ขนม  หรือเครื่องดื่มที่ซื้อจากร้านนั้น ๆ   กว่าจะทราบก็ต่อเมื่อตนเองรู้สึกผิด
สังเกตต่อความต้องการ จะซื้ออาหารจากร้านนั้นมารับประทาน หรือต่อเมื่อ มีอาการเสพย์ติดรุนแรง และมีสุขภาพเสื่อมลง
๓. สาเหตุที่เกิดจากความเจ็บป่วย
          ๑. คนที่มีอาการเจ็บป่วยทางกายเกิดขึ้นเพราะสาเหตุต่าง ๆ  เช่นได้รับบาดเจ็บรุนแรง เป็นแผลเรื้อรัง มีความเจ็บปวดอยู่เป็นประจำ เป็นโรคประจำตัวบางอย่าง เป็นต้น ทำให้ได้รับทุกข์ทรมานมาก หรือ  เป็นประจำ จึงพยายามแสวงหาวิธีที่จะช่วยเหลือตนเองให้พ้นจากความทุกข์ทรมานนั้นซึ่งวิธีหนึ่งที่ทำได้ง่ายคือ การรับประทานยาที่มีฤทธิ์ระงับอาการเจ็บปวดนั้นได้ ซึ่งไม่ใช่เป็นการรักษาที่เป็นต้นเหตุของความเจ็บป่วย เพียงแต่ระงับอาการเจ็บปวดให้หมดไปหรือลดน้อยลงได้ชั่วขณะ เมื่อฤทธิ์ยาหมดไปก็จะกลับเจ็บปวดใหม่ ผู้ป่วยก็จะใช้ยานั้นอีก เมื่อทำเช่นนี้ไปนานๆ เกิดอาการติดยานั้นขึ้น
          ๒. ผู้ที่มีจิตใจไม่เป็นปกติ เช่น  มีความวิตก  กังวล เครียด มีความผิดหวังในชีวิต มีความเศร้าสลดเสียใจ เป็นต้น ทำให้สภาวะจิตใจไม่เป็นปกติจนเกิดการป่วยทางจิตขึ้น จึงพยายามหายาหรือสิ่งเสพย์ติดที่มีฤทธิ์สามารถคลายความเครียดจากทางจิตได้ชั่วขณะหนึ่งมารับประทาน แต่ไม่ได้รักษาที่ต้นเหตุเมื่อยาหมดฤทธิ์  จิตใจก็จะกลับเครียดอีก  และ ผู้ป่วยก็จะเสพสิ่งเสพย์ติด ถ้าทำเช่นนี้
ไปเรื่อยๆ ก็จะทำให้ผู้นั้นติดยาเสพย์ติดในที่สุด
          ๓. การไปซื้อยามารับประทานเองโดยไม่ทราบสรรพคุณยาที่แท้จริงขนาดยาที่ควรรับประทาน การรับประทานยาเกินจำนวนกว่าที่แพทย์ได้สั่งไว้ การรับประทานยาบางชนิดมากเกินขนาด หรือรับประทานติดต่อกันนานๆ บางครั้งอาจมีอาการถึงตายได้ หรือบางครั้งทำให้เกิดการเสพติดยานั้นได้
๔.สาเหตุอื่นๆ
          การอยู่ใกล้แหล่งขายหรือใกล้แหล่งผลิต หรือ เป็นผู้ขายหรือผู้ผลิตเอง จึงทำให้มีโอกาสติดสิ่งเสพย์ติดให้โทษนั้นมากกว่าคนทั่วไป
          เมื่อมีเพื่อนสนิทหรือพี่น้องที่ติดสิ่งเสพย์ติดอยู่ ผู้นั้นย่อมได้เห็นวิธีการเสพ ของผู้ที่อยู่ใกล้ชิด รวทั้งใจเห็นพฤติกรรมต่างๆ ของเขาด้วย และยังอาจได้รับคำแนะนำหรือชักชวนจากผู้เสพด้วย จึงมีโอกาสติดได้
          คนบางคนอยู่ในสภาพที่มีปัญหา เช่น ว่างงาน ยากจน ค่าใช้จ่ายเพิ่มโดยมีรายได้ลดลง หรือคงที่ มีหนี้สินมาก ฯลฯ เมื่อแก้ปัญหาต่าง   เหล่านี้ไม่ได้ก็หันไปใช้สิ่งเสพย์ติด  ช่วยผ่อนคลายความรู้สึก  ในความทุกข์ยากต่างเหล่านี้ แม้จะรู้ว่าเป็นชั่วครู่ชั่วยาม
ก็ตาม 
 เช่น  กลุ้มใจที่เป็นหนี้คนอื่นก็ไปกินเหล้า หรือ สูบกัญชาให้เมาเพื่อที่จะได้ลืมเรื่องหนี้สิน บางคนต้องการรายได้เพิ่มขึ้น  โดยพยายามทำงานให้หนัก และ มากขึ้นทั้ง ๆ ที่ร่างกายอ่อนเพลียมากจึงรับประทานยากระตุ้นประสาทเพื่อให้สามารถทำงานต่อไปได้ เป็นต้น ถ้าทำอยู่เป็นประจำทำให้ติดสิ่งเสพย์ติดนั้นได้
          ๒.การเลียนแบบ การที่ไปเห็นผู้ที่ตนสนิทสนมรักใคร่เหรือเพื่อน จึงเห็นว่าเป็นสิ่งน่าลอง เป็นสิ่งโก้เก๋ เป็นสิ่งแสดงความเป็นพวกเดียวกัน จึงไปทดลองใช้สิ่งเสพย์ติดนั้นจนติด
          ๓. คนบางคนมีความผิดหวังในชีวิตตนเอง ผิดหวังในชีวิตครอบครัว หรือผิดหวังในชีวิตสังคม เพื่อเป็นการประชดตนเองหรือคนอื่น จึงไปใช้สิ่งเสพย์ติดจนติด ทั้งๆ ที่ทราบว่าเป็นสิ่งไม่ดี ก็ตาม

ลักษณะการตอิดยาเสพติด


ลักษณะการติดยาเสพติด 
          ยาเสพติดบางชนิดก่อให้เกิดการติดได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่ยาเสพติดบางชนิด ก็ก่อให้เกิดการติดทางด้านจิตใจ
เพียงอย่างเดียว
          ลักษณะทั่วไป
          ๑. ตาโรยขาดความกระปรี้กระเปร่า น้ำมูกไหล น้ำตาไหล ริมฝีปากเขียวคล้ำแห้ง แตก (เสพโดยการสูบ)
          ๒. เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรง พูดจาไม่สัมพันธ์กับความจริง
          ๓. บริเวณแขนตามแนวเส้นโลหิต มีร่องรอยการเสพยาโดยการฉีดให้เห็น
          ๔. ที่ท้องแขนมีรอยแผลเป็นโดยกรีดด้วยของมีคมตามขวาง (ติดเหล้าแห้ง ยา กล่อมประสาท ยาระงับประสาท)
          ๕. ใส่แว่นตากรองแสงเข้มเป็นประจำเพราะม่านตาขยายและเพื่อปิดนัยน์ตาสีแดงก่ำ
          ๖. มักสวมเสื้อแขนยาวปกปิดรอยฉีดยา โปรดหลีกให้พ้นจากบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว ชีวิตจะสุขสันต์ตลอดกาล
          ๗. มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพยานั้นต่อไปอีกเรื่อยๆ
          ๘. มีความโน้มเอียงที่จะเพิ่มปริมาณของสิ่งเสพย์ติดให้มากขึ้นทุกขณะ
          ๙. ถ้าถึงเวลาที่เกิดความต้องการแล้วไม่ได้เสพจะเกิดอาการขาดยาหรืออย่ากยาโดยแสดงออกมา ในลักษณะอาการต่างๆ                เช่น หาว อาเจียน น้ำมูกน้ำตาไหล ทุรนทุราย คลุ้มคลั่ง ขาดสติ โมโห ฉุนเฉียว ฯลฯ
          ๑๐.สิ่งเสพย์ติดนั้นหากเสพอยู่เสมอๆ และเป็นเวลานานจะทำลายสุขภาพของผู้เสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ        
          ๑๑. ทำให้ร่างกายซูบผอมมีโรคแทรกซ้อน และทำให้เกิดอาการทางโรคประสาทและจิตไม่ปกติ
          การติดยาทางกาย
          เป็นการติดยาเสพติดที่ผู้เสพมีความต้องการเสพอย่างรุนแรง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เมื่อถึงเวลาอยากเสพแล้วไม่ได้เสพ
จะเกิดอาการผิดปกติอย่างมาก ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งเรียกว่า "อาการขาดยา" เช่น การติดฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน เมื่อขาดยา
จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หาว น้ำมูกน้ำตาไหล นอนไม่หลับ เจ็บปวดทั่วร่างกาย เป็นต้น
          การติดยาทางใจ
          เป็นการติดยาเสพติดเพราะจิตใจเกิดความต้องการ หรือ เกิดการติดเป็นนิสัย หากไม่ได้เสพร่างกายก็จะไม่เกิดอาการผิดปกติ หรือ ทุรนทุรายแต่อย่างใด จะมีบ้างก็เพียงเกิดอาการหงุดหงิดหรือกระวนกระวายใจเท่านั้น

                                              การสังเกตผู้ติดยาเสพติด 


วิธีสังเกตุอาการผู้ติดยาเสพติด
          จะสังเกตว่าผู้ใดใช้หรือเสพยาเสพติด ให้สังเกตจากอาการและการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย และจิตใจดังต่อไปนี้ 
          ๑ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จะสังเกตได้จาก
          - สุขภาพร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย
          - ริมฝีปากเขียวคล้ำ แห้ง และแตก
          - ร่างกายสกปรก เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรงเพราะไม่ชอบอาบน้ำ
          - ผิวหนังหยาบกร้าน เป็นแผลพุพอง อาจมีหนองหรือน้ำเหลือง คล้ายโรคผิวหนัง
          - มีรอยกรีดด้วยของมีคม เป็นรอยแผลเป็นปรากฏที่บริเวณแขน และ/หรือ ท้องแขน
          - ชอบใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และสวมแว่นตาดำเพื่อปิดบังม่านตาที่ ขยาย
          ๒ การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ ความประพฤติและบุคลิกภาพ สังเกตุได้จาก
          - เป็นคนเจ้าอารมย์ หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจตนเอง ขาดเหตุผล
          - ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่
          - ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
          - พูดจากร้าวร้าว แม้แต่บิดามารดา ครู อาจารย์ ของตนเอง
          - ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่เข้าหน้าผู้อื่น ทำตัวลึกลับ
          - ชอบเข้าห้องน้ำนาน ๆ
          - ใช้เงินเปลืองผิดปกติ ทรัพย์สินในบ้านสูญหายบ่อย
          - พบอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด เช่น หลอดฉีดยา เข็มฉีดยา กระดาษตะกั่ว
          - มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด
          - ไม่สนใจความเป็นอยู่ของตนเอง แต่งกายสกปรก ไม่เรียบร้อย ไม่ค่อยอาบน้ำ  
          - ชอบออกนอกบ้านเสมอ ๆ และกลับบ้านผิดเวลา  
          - ไม่ชอบทำงาน เกียจคร้าน ชอบนอนตื่นสาย 
          - มีอาการวิตกกังวล เศร้าซึม สีหน้าหมองคล้ำ
          ๓ การสังเกตุอาการขาดยา ดังต่อไปนี้
          - น้ำมูก น้ำตาไหล หาวบ่อย
          - กระสับกระส่าย กระวนกระวาย หายใจถี่ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาจมีอุจาระเป็นเลือด
          - ขนลุก เหงื่อออกมากผิดปกติ
          - ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเสียวในกระดูก
          - ม่านตาขยายโตขึ้น ตาพร่าไม่สู้แดด
          - มีอาการสั่น ชัก เกร็ง ไข้ขึ้นสูง ความดันโลหิตสูง
          - เป็นตะคริว
          - นอนไม่หลับ
          - เพ้อ คลุ้มคลั่ง อาละวาด ควบคุมตนเองไม่ได้ 



ปัญหายาเสพติดของวัยรุ่น


ยาเสพติดเป็นปัญหาสังคมที่ยิ่งใหญ่ ที่ต้องการการแก้ไขอย่างจริงจัง และอย่างจริงใจ ของผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่เหนือสิ่งอื่นใด
ถ้าท่านเป็นวัยรุ่นที่เลือกหัวข้อนี้ ขอบอกทันทีเลยว่า ท่านคือส่วนที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหา ไม่มีใครที่ติดยาเสพติดโดยที่ตนเองไม่ยินยอมที่จะเสพ เพราะฉะนั้นคำว่า ไม่เริ่ม...ไม่ต้องเลิก ท่านต้องจำ 5 คำนี้ให้ดี คาถาปัองกันปัญหายาเสพติด ท่านทราบดีอยู่แล้วว่ายาเสพติดเป็นสิ่งไม่ดี ดังนั้นท่านต้องหัดปฏิเสธ ท่านต้องเจ้าเล่ห์เพทุบายในการหลบ หลีกเลี่ยงการลองยาเสพติด ที่เพื่อนรักของท่านนำมาให้หรือชักจูงท่านด้วยเหตุผลต่างๆ นาๆ ท่านสามารถที่จะบอกว่าท่านมีอาการแพ้สิ่งนั้นอย่างรุนแรง ท่านมีปอดและระบบทางเดินหายใจไม่ดี เสพที่ใด ไอจามทุกที นอนไม่หลับ สารพัดเหตุผลที่ท่านสามารถนำขึ้นมาพูดกับเพื่อนที่แสนที่จะไม่หวังดีต่อท่าน ถ้าท่านตั้งมั่นในดวงใจอยู่เสมอว่า ชั่วชีวิตนี้ท่านจะไม่ยอมติดยาเสพติดเป็นอันขาด
          ในโลกนี้มีสิ่งที่งดงามสนุกสนานอีกมากมาย ที่ท่านสามารถกระทำได้ โดยไม่ก่อให้เกิดการบั่นทอนสุขภาพร่างกาย และจิตใจของท่าน ท่านทราบดีอยู่แล้วถึงพิษภัยของของยาเสพติด เอ๊ะแล้วทำไมเพื่อนรักของท่านมาชวนท่านเสพยาเสพติด เพื่อนหวังดีกับท่านจริงหรือ  เพื่อนมีอะไรซ่อนเร้นอยู่ในใจหรือเปล่า  เพื่อนเป็นตัวอย่างที่ดีที่ท่านควรทำตามหรือไม่ เพื่อนอยู่ในวงจรอุบาทว์ที่ท่านควรคิดช่วยเขา แทนที่เพื่อนจะมาชวนท่านเสพ แล้วฉุดท่านเข้าไปอยู่ในวงจรอุบาทว์นั้นด้วย มันถูกต้องหรือนี่  การเล่นกีฬา
เล่นดนตรี ร้องรำทำเพลง เที่ยวเตร่เพื่อความสนุกสนาน วาดรูป เล่นเกมส์ต่างๆ ท่องเที่ยวไปในโลกของอินเตอร์เนตในคอมพิวเตอร์ และกิจกรรมอีกมากมายที่จะนำความสุขมาสู่ตัวท่าน ท่านต้องรักตัวท่าน ท่านต้องไม่ทำให้คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองของท่านเสียใจ โปรดเชื่อเถิดว่า เสพยาเสพติดไม่นานเกิน 1 ปีหรอก ร่างกายของท่านจะตกอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ การบำบัดรักษาให้เลิกยาเสพติดเป็นไปด้วยความยากลำบาก ถ้าท่านอยู่ในภาวะที่เศร้าโศกเสียใจและยังแก้ปัญหาในขณะนี้ไม่ได้ ยาเสพติดไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาของท่านอย่างแน่นอน ขอให้คิดให้ดีและขอให้ท่านโชคดีแก้ปัญหาให้ได้


เยาวชนกับยาเสพติด

 เมื่อพูดถึงปัญหายาเสพติด คนส่วนใหญ่ก็มักจะมุ่งความสนใจไปที่กลุ่มผู้ผลิต ผู้ค้าและผู้เสพยาเสพติด โดยเฉพาะผู้เสพยาเสพติดที่เป็นเยาวชน ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยตรง จึงทำให้ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นบิดามารดา ครู ผู้ปกครอง องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน ตลอดจน สื่อมวลชนต่างก็ให้ความสนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเฉพาะการพยายามสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่เด็กและเยาวชน ให้มีชีวิตที่ดีงามห่างไกลจากยาเสพติด ซึ่งต้องระมัดระวังทั้งในเรื่องของการสรรหาวิธีการและเลือกเฟ้นเนื้อหา ข้อความที่เข้าถึงเยาวชนได้ตรงจุด ทั้งนี้เพราะเด็กและเยาวชนนั้นจะมีลักษณะพิเศษ เช่น ไม่ชอบให้ใครว่ากล่าวตักเตือนตรง ๆ โดยเฉพาะผู้ใหญ่ แต่จะรับข่าวสารข้อมูลได้มากขึ้นถ้าเยาวชนด้วยกันเป็นผู้ให้ข่าวสารข้อมูลนั้น หรือตนเองเป็นผู้มีส่วนร่วมในการสื่อสารด้วย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
(สำนักงาน ป.ป.ส.) จึงได้จัดรายการโทรทัศน์เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนไทยขึ้น คือ รายการ “ฮัลโหล ไทยทีน” (HelloThai Teen) ซึ่งเป็นรายการโทรทัศน์เพื่อการป้องกันยาเสพติดของเยาวชน โดยเยาวชน และเพื่อเยาวชน
          รายการ “ฮัลโหล ไทยทีน” เผยแพร่ออกอากาศทั่วประเทศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.02 - 18.30 น. เป็นประจํ า มีสมาชิกร่วมแลกเปลี่ยนส่งข่าวสารผ่านรายการทางจดหมาย E-mail โทรศัพท์ และ วิทยุติดตามตัวเป็นจำนวนประมาณ 4,000 ราย โดยมีพิธีกรเป็นเยาวชน และเสนอกิจกรรมทางเลือกของเยาวชนที่หลากหลายทั้งในด้านกีฬา ดนตรี งานอดิเรก และการนำเสนอความคิดเห็นของเด็ก เยาวชน ในเรื่องป็ญหายาเสพติด หากจะมีแขกของรายการที่เป็นผู้ใหญ่เข้าไปร่วมรายการด้วย ก็จะต้องปรับภาษาพูดและเนื้อหาที่นำเสนอให้เป็นเรื่องที่เป็นเหตุเป็นผล และพูดถึงเรื่องประสบการณ์จริงที่เยาวชนเคยพบเห็น หรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของเด็กและเยาวชน
          ในการพบปะกับเยาวชนของเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(นายสรสิทธิ์ แสงประเสริฐ) กับน้อง ๆ เยาวชนในรายการโทรทัศน์ “ฮัลโหล ไทยทีน” แต่ละครั้งได้นำเสนอแนวคิดที่เป็นเหตุเป็นผล และเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวอยู่ในวิถีชีวิตของเด็กและเยาวชน ซึ่งผู้เขียนมองเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการนำไปเผยแพร่ในการพูดคุยเรื่องยาเสพติดกับเยาวชน ต่อไป จึงได้รวบรวมและเรียบเรียงประเด็นหลัก ๆ ไว้ดังนี้
อิทธิพลของเพื่อน
          เพื่อนเป็นคนสำคัญของเราก็จริงอยู่ แต่ถ้าเพื่อนมีอิทธิพลต่อเราในทางที่ไม่ดี พาไปเสียผู้เสียคน ในฐานะที่เราเป็นเพื่อนก็ต้องให้สติด้วยการตักเตือน และปฏิเสธไม่ทำตามและชักจูงให้เขาได้ใช้ชีวิตที่ถูกต้องและดีงาม แต่ถ้าหากเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เหลือบ่ากว่าแรงก็คงต้องโบกมือลาเลิกคบเสียดีกว่า ถือคติที่ว่า “มีเพื่อนดีเพียงหนึ่ง ถึงจะต้อง ดีกว่าเพื่อนร้อยเพื่อนเลว”
ถ้าเป็นเรื่องยาเสพติด ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง
          เรื่องบางเรื่องจำเป็นต้องพิสูจน์ด้วยตนเองแล้วจึงเชื่อ แต่เรื่องยาเสพติดไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง เพราะกาลเวลาผ่านมากี่ยุคกี่สมัย ยาเสพติดก็ยังเป็นสิ่งที่มีโทษพิษภัยต่อร่างกาย และมีผลกระทบทำลายครอบครัว ชุมชน และความมั่นคงของประเทศชาติ หากลูกหลายจะลงทุนพิสูจน์ยาเสพติดด้วยการทดลองใช้ด้วยตนเองก็เป็นการลงทุนที่สูงมาก ไม่คุ้มกับการลงทุน เพราะยาเสพติดมีฤทธิ์ทางเภสัช ทำให้เสพติดได้ และเลิกได้ยาก บางทีอาจสูญเสียเวลาและอนาคตกับเรื่องนี้ไปตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นอย่าได้คิดทดลองเลยจะดีกว่า
เยาวชนจะต้องรู้เท่าทันผู้ค้ายาเสพติด
          เยาวชนส่วนใหญ่อยู่ในวัยเรียน มีเงินอยู่ในกระเป๋าเสมอสําหรับค่าขนม และค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่จำเป็น ซึ่งพ่อแม่และผู้ปกครองให้มา จึงทำให้ผู้ลักลอบค้ายาเสพติดมีความมั่นใจว่าการค้ายาเสพติดให้กับเยาวชนนั้นจะทำให้มีลูกค้าอยู้สม่ำเสมอ และใช้กลยุทธในการขายแบบขายตรง(Direct sale) ในกลุ่มเพื่อนสนิท และด้วยความเป็นเพื่อนสนิทจึงไม่กล้าเปิดเผยความผิดของเพื่อน และไม่กล้าปฏิเสธเพื่อน จึงทำให้การแพร่ระบาดยาเสพติดเป็นไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว จึงจำเป็นที่เยาวชนจะต้องรู้เท่าทันกลลวงของผู้ค้ายาเสพติดที่จ้องจะดูดเงินค่าขนมในกระเป๋าของเยาวชนตลอดมา
ติดกีฬาก็มีความสุขได้
          การเล่นกีฬาไม่ใช่เป็นแต่เพียงกิจกรรมทางเลือกที่เบี่ยงเบนความสนใจของเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติดเท่านั้น แต่ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เชื่อว่า การออกกำลังกายหรือการเล่นกีฬานั้นจะทำให้ต่อมไร้ท่อใต้สมองหลั่งสารเคมีชนิดหนึ่งชื่อ “เอนโดฟีน” ออกมา ซึ่งสารชนิดนี้ จะทำให้รู้สึกสดชื่น และ เป็นสุข ผู้ที่ออกกำาลังกายอยู่เสมอจึงมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์สมกับที่กล่าวว่า 
“กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ”
 ดังนั้น จึงควรที่จะช่วยกันส่งเสริมให้เยาวชนได้ออกกำลังกายและเล่นกีฬา เพื่อให้มีสาร “เอนโดฟีน” อยู่ในร่างกายเกิดความสุขได้โดยไม่ต้องพึ่งพายาเสพติด


เยาวชนกับการป้องกันยาเสพติด

ปัจจุบันเยาวชนที่ตกเป็นทาสของยาเสพติด ส่วนมากมาจากสาเหตุหลายประการที่เกิดจากตัวเยาวชนเอง เช่น  
          - ความอยากรู้ อยากทดลอง ความคึกคะนองของเยาวชน -ความต้องการให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนหรือเข้ากับเพื่อนได้           - ความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเยาวชนใช้ยาในทางที่ผิดหรือหลงเชื่อคำโฆษณา
          - จิตใจของเยาวชนเอง จิตใจอ่อนแแอ ใจคอไม่หนักแน่น เมื่อมีปัญหา ไม่สมหวัง ไม่ไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อแก้ปัญหา ก็ใช้ยาหรือยาเสพติดเป็นเครื่องช่วยระงับความรู้สึกทุกข์ของตน  ใช้บ่อยๆ  ทำให้เกิดการเสพติด  ฉะนั้น การป้องกันและแก้ไขตนเองของเยาวชนให้ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด สามารถกระทำได้โดย
          ๑. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของยาเสพติด และระมัดระวังในการใช้ยา
          ๒. รู้จักเลือกคบเพื่อนที่ดี ส่งเสริมให้คิดและกระทำสิ่งดีมีประโยชน์กล้าพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชักจูงไปในทางที่ไม่ดี เช่น
              การพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชวนให้ลองเสพยาเสพติด
          ๓. ใช้เวลาว่าง และความอยากรู้ อยากลอง ไปในทางที่เป็นประโยชน์พึงระลึกเสมอว่าตนเองนั้นมีคุณค่าทั้งต่อตนเอง
              ครอบครัว และสังคม
          ๔. มีความภาคภูมิใจและนับถือตนเอง ด้วยการไม่พึงพาหรือเกี่ยวข้องอบายุมขและสิ่งเสพติดใดๆ ซึ่งจะนำความเสื่อม
              ไปสู่ชีวิตของตนเอง 
          ๕.รู้จักแก้ไขปัญหาชีวิตของตนเองด้วยเหตุและผล
          ๖. รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ด้วยการตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของ พ่อแม่และประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม
              จะช่วยให้เยาวชนประสบกับความสำเร็จในชีวิต
          ๗. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส เข้าใจวิธีการดำเนินชีวิตและยอมรับความเป็นจริง ที่ตนเองเป็นอยู่ โดยนำหลักศาสนามาเป็น
              แนวทางในการดำเนินชีวิต จะช่วยให้เยาวชนเกิดความมั่นคงทางด้านจิตใจมากขึ้น
          ๘. เมื่อมีปัญหา รู้จักปรึกษาผู้ใหญ่ พ่อ แม่ หรือผู้ที่ไว้วางใจ หรือ หน่วยงานต่างๆ ที่รับให้คำปรึกษา ในฐานะที่เยาวชนเป็น
               สมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว จึงควรมีส่วนช่วย พ่อแม่ ผู้ปกครอง
การป้องกันปัญหายาเสพติดแก่ครอบครัวาของตนเอง

          ๑. ช่วย พ่อ แม่ สอดส่องดูแลน้องๆ หรือสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัวมิให้กระทำสิ่งที่ผิด เช่น การคบเพื่อนที่ไม่ดี
              การมั่วสุมในอบายมุขและสิ่งเสพติด เยาวชนควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก ่สมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัวด้วย เช่น               การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ความมีระเบียบวินัย ความขยันหมั่นเพียร
          ๒. ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว มีความรักใคร่กลมเกลียวและมีความเข้าใจกัน
              ช่วยเหลือซึ่งกันและกันเมื่อมีปัญหา
          ๓. เมื่อมีโอกาสควรบอกกล่าวหรือตักเตือนสมาชิกคนอื่นๆภายในครอบครัว โดยเฉพาะน้องๆให้รู้เกี่ยวกับโทษพิษภัยของ
              ยาเสพติดวิธีการใช้ยาอย่างปลอดภัย
          ๔. ช่วยทำให้ พ่อ แม่ เกิดความสบายใจและภาคภูมิใจด้วยการประพฤติดี ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน แบ่งเบาภาระหน้าที่การงาน
              ของพ่อ แม่ ภายในบ้าน


การป้องกันการติดยาเสพติด

การป้องกันการติดยาเสพติด
         ๑. ป้องกันตนเอง ไม่ใช้ยาโดยมิได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และจงอย่าทดลองเสพยาเสพติดทุกชนิดโดยเด็ดขาด เพราะ
ติดง่ายหายยาก
         ๒. ป้องกันครอบครัว ควรสอดส่องดูแลเด็กและบุคคลในครอบครัวหรือที่อยู่รวมกัน อย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ต้อง
คอยอบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษและภัยของยา-เสพติด   หากมีผู้เสพยาเสพติดในครอบครัว จงจัดการให้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล
ให้หายเด็ดขาด การรักษาแต่แรกเริ่มติดยาเสพติดมีโอกาสหายได้เร็วกว่าที่ปล่อยไว้นานๆ
         ๓. ป้องกันเพื่อนบ้าน โดยช่วยชี้แจงให้เพื่อนบ้านเข้าใจถึงโทษและภัยของยาเสพติด โดยมิให้เพื่อนบ้านรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ต้องถูกหลอกลวง และหากพบว่าเพื่อนบ้านติดยาเสพติด จงช่วยแนะนำให้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล
         ๔. ป้องกันโดยให้ความร่วมมือกับทางราชการ เมื่อทราบว่าบ้านใดตำบลใด มียาเสพติดแพร่ระบาดขอให้แจ้ง
เจ้าหน้าที่ ตำรวจทุกแห่งทุกท้องที่ทราบ หรือที่ศูนย์ปราบปรามยาเสพติดให้โทษ กรมตำรวจ (ศปส.ตร.) โทร. 2527962 ,
0-252-5932   และ  ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)   สำนักนายกรัฐมนตรี
โทร. 2459350-9
          ยาเสพติดป้องกันได้

          ๑. ป้องกันตนเอง ทำได้โดย..
                • ศึกษาหาความรู้ เพื่อให้รู้เท่าทันโทษพิษภัยของยาเสพติด
                • ไม่ทดลองใช้ยาเสพติดทุกชนิดและปฏิเสธเมื่อถูกชักชวน
                • ระมัดระวังเรื่องการใช้ยา เพราะยาบางชนิดอาจทำให้เสพติดได้
                • ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
                • เลือกคบเพื่อนดี ที่ชักชวนกันไปในทางสร้างสรรค์
                • เมื่อมีปัญหาชีวิต ควรหาหนทางแก้ไขที่ไม่ข้องเกี่ยวกับยาเสพติดหากแก้ไขไม่ได้ควรปรึกษาผู้ใหญ่
          ๒. ป้องกันครอบครัว ทำได้โดย
               • สร้างความรัก ความอบอุ่นและความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว
               • รู้และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง
               • ดูแลสมาชิกในครอบครัว ไม่ให้ข้องเกี่ยวกับยาเสพติด
               • ให้กำลังใจและหาทางแก้ไข หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวติดยาเสพติด
          ๓. ป้องกันชุมชน ทำได้โดย
                • ช่วยชุมชนในการต่อต้านยาเสพติด
                • เมื่อทราบแหล่งเสพ แหล่งค้า หรือผลิตยาเสพติด ควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที ที่...
                • สำนักงาน ป.ป.ส. โทร. 02-2459414 หรือ 02-2470901-19 ต่อ 258 โทรสาร 02-2468526
                • ศูนย์รับแจ้งข่าวยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 1688










































































































































































































































































































































































































































































































































๑. ประเภทของยาเสพติด
          จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น ๔ ประเภท
          ๑. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น  มอร์ฟีน  เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาทเครื่องดื่มมึนเมา
ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาว เป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง
อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย
          ๒. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ ยาบ้า  ยาอี กระท่อม  โคเคน มักพบว่าผู้เสพติดจะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสนหวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น
          ๓. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี และ เห็ดขี้ควาย เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่องเห็นแสงสีวิจิตรพิสดาร หูแว่ว ได้ยินเสียง ประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็น
โรคจิต
          ๔. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกันได้แก่ ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสนเห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้
๒. แบ่งตามแหล่งที่มา
          แบ่งตามแหล่งที่เกิด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
          ๑. ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น ฝิ่น  มอร์ฟีน  กระท่อม  กัญชา เป็นต้น
          ๒. ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน  ยาอี  เอ็คตาซี เป็นต้น
๓. แบ่งตามกฎหมาย
          แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ
          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑  ได้แก่ เฮโรอีน  แอลเอสดี  แอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า  ยาอี หรือ ยาเลิฟ
          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่ต้องใช้ภายใต้
การควบคุมของแพทย์ และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคน หรือ โคคาอีน โคเคอีน และเมทาโดน
          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๓  ยาเสพติดประเภทนี้  เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่ ๒ ผสมอยู่ด้วย
มีประโยชน์ทางการแพทย์ การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้ ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่
ยาแก้ไอ ที่มีตัวยาโคเคอีน ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น
          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๔ คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ หรือประเภทที่ ๒ ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยน มอร์ฟีน เป็น เฮโรอีน สารคลอซูไดอีเฟครีน สามารถใช้ในการผลิต ยาบ้า ได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก ๑๒ ชนิด ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้
          ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๕ เป็นยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าข่ายอยู่ในยาเสพติดประเภทที่ ๑ ถึง ๔ ได้แก่ ทุกส่วนของพืช กัญชา ทุกส่วนของพืช กระท่อม เห็ดขี้ควาย เป็นต้น

สาเหตุการติดยาเสพติด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น